1. Hot Foil Stamping
ปั๊มฟอยล์
เป็นลักษณะการใช้ความร้อนจากแท่นเครื่องทําให้ฟอยล์ เช่น ฟอยล์ทอง ฟอยลเงิน ละลายจากพลาสติก ไปเคลือบติดบนสิ่งพิมพ์ต่างๆ จึงเรียกวา “Hot Stamp” การปั๊มเคฟอยล์ เป็นการเพิ่มมูลค่างานพิมพ์ให้ดูหรูหรา เช่น งานพิมพ์นามบัตร, งานพิมพ์การ์ดงานเชิญ, การ์ดแต่งงาน, ปกหนังสือ, กระดาษหัวจดหมาย, ซองจดหมาย, บัตรประกันสินค้า, โปสการ์ด เป็นต้น ท้ังน้ีที่โรงพิมพ์สยามมาพรมีสีฟอยลให้เลือกสรรมากมาย
2. EMBOSSING
ปั๊มนูน
เป็นการกดทับกระดาษบางส่วนให้นูนขึ้นกว่าปกติตามลักษณะของแม่พิมพ์ที่ใช้กดทับ อาจเป็น ข้อความหรือรูปภาพก็ได้ เป็นการเพิ่มความสวยงามโดยให้กระดาษดูมีมิติมากขึ้น เช่น ปั๊มนูนโลโก้ของนามบัตร, ตัวหนังสือบนปกหนังสือ หรือกระดาษหัวจดหมาย เหมาะสําหรับงานที่ต้องการความรู้สึกถึงความเป็นต้นฉบับของแท้ อีกทั้งการปั๊มนูนยังช่วยป้องกันการทําสําเนาได้อีกด้วย
3. DEBOSSING
ปั๊มจม
หลักการทําคล้ายกับการปั๊มนูน เป็นการสร้างลวดลายโดยการกดทับกระดาษให้ลึกลงไปให้ได้ รูปลักษณ์ตามแบบของแม่พิมพ์ที่กดทับเป็นการทําให้บางส่วนของงานพิมพ์มีลักษณะจมลงกว่าปกติ อาจเป็นรูปภาพหรือ ข้อความก็ได้เพื่อเน้นบริเวณนั้นๆใหสวยงามและดูมีมิติมากขึ้น เช่น ปั๊มจมโลโก้ของนามบัตร, ตัวหนังสือบนปกหนังสือ เป็นต้น
4. DIE CUT
เจาะหน้าต่าง/ตัดรูปทรงพิเศษ
เป็นการขึ้นรูปกระดาษโดยการกดทับกระดาษให้ขาดเป็นรูปร่างและขนาดที่ต้องการตามแบบมีด ไดคัท หรือ บล็อคปั๊ม เช่น ตัดให้เป็นวงกลม วงรี สี่เหลี่ยม เป็นต้น หรืออาจมีรูปร่างพิเศษ เช่น รูปดาว ดอกไม้ ลายไทย หรือเจาะรูเปนรูปทรง กล่องบรรจุภัณฑ์ กระดาษโน็ต เปนต้น
5. SPOT UV
เคลือบเงาเฉพาะจุด
เคลือบ UV เงา ในเฉพาะบางจุด เช่นโลโก้,ตัวอักษรบางจุดหรือภาพที่ต้องการเน้น เป็นการเน้นความสําคัญตรงจุดนั้น หรือเพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับงานโดยรวมมากขึ้น ราคาการเคลือบยูวีจะถูกกวาการเคลือบลามิเนต ข้อดีคือสามารถเคลือบบนกระดาษบางมากๆ ได้ ซึ่งจะนิยมเคลือบพีวีซีด้านทั้งแผ่นก่อนการเคลือบยูวีเฉพาะจุด เพราะจะทําให้งานออกมาดูดีกวาการspot uv เพียงอย่างเดียว
6. UV COATED
เคลือบเงา UV
เคลือบผิวกระดาษด้วยน้ํายาเงาและทําให้แห้งดวยแสงยูวี ให้ความเงาสูงกว่าแบบวานิช เพื่อเพิ่มความมันเงาและสีสันใหกับสิ่งพิมพ์ รวมถึงป้องกันการขีดข่วนหากสิ่งพิมพ์นั้นมีขั้นตอนการผลิตหลายขั้นตอนเหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้อง การโชว์ความสวยงามของสินค้าหรือผลิตภัณฑ และประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจากต้นทุนราคาเคลือบถูก รวดเร็ว อีกทั้งเป็นงานเคลือบสิ่งพิมพ์ซึ่งเปนที่นิยมกันโดยทั่วไป การเคลือบยูวีด้านก็เช่นเดียวกันแต่เป็นการเคลือบผิวกระดาษที่ออกมามีผิวด้าน งานที่นิยมเคลือบประเภทนี้ได้แก่ ปกนิตยสาร แผ่นพับ ฉลาก โบว์ชัวร์ เป็นต้น
7. LAMINATION
เคลือบ PVC ด้าน/เงา
เรียกอีกอย่างว่า “PVC” เป็นการเพิ่มมูลค่างานพิมพ์ให้ดูหรูมีระดับ การเคลือบลามิเนตจะมี 2 ชนิด คือแบบเงา (Glossy) และ แบบด้าน (Matte) เป็นการใช้แผ่นฟิล์มเคลือบทับบนงานพิมพ์ ราคาจะค่อนข้างสูงกว่าการเคลือบแบบ UV สําหรับป้องกันการฉีกขาดของงานพิมพ์ เพิ่มความคงทนของงานพิมพ์ ทนต่อการขูดขีด สามารถกันน้ําได้มากข้ึน และช่วยเพิ่มความหนาและความแข็งแรงใหกับงานพิมพ์ได้อีกด้วย ข้อเสียคือไม่สามารถเคลือบลงบนกระดาษบางมากๆ ได้
8. PERFORATION
รอยปรุ
การทําเส้นปรุให้กับส่ิงพิมพ์ เพื่อให้สิ่งพิมพ์นั้นสามารถฉีกขาดได้ง่ายขึ้น เช่น บัตรคูปอง , บัตรชมคอนเสิร์ต เป็นต้น
9. PERFECT BINDING
เข้าเล่มไสกาว
เป็นการ เข้าเล่มงานพิมพ์ที่นิยมมากที่สุดเพราะเข้าเล่มได้เรียบร้อยสวยงาม เหมาะสําหรับงานปริ้นท์หรืองานพิมพ์ ที่มีความหนาประมาณ 70 หนาขึ้นไป เช่น นิตยสาร หนังสือเรียน ความทนทานก็พอใช้ได้ การเข้าเล่มแบบนี้จะกางหนังสือออกมากไม่ได้ หนังสือจะหลุดง่าย พอปล่อยมือหนากระดาษจะดีดกลับหุบเขามาเหมือนเดิม วิธีเขาเล่มแบบไสกาว คือนํากระดาษที่เรียงหนาเป็นเล่มแล้ว มาไสกระดาษด้านข้างให้เรียบก่อนแล้วจึงทากาว ที่ต้องไสสันก่อนก็เพื่อให้กาวแทรกซึมเข้าไปดีขึ้น การยึดติดก็จะดีขึ้น นั่นเป็นที่มาของคําวา “ไสกาว”
10. SADDLE STITCHING
เข้าเล่มเย็บอก
การเข้าเล่มแบบเย็บอก แบบนี้นิยมใช้เย็บ สมุด,หนังสือ ที่มีจํานวนหน้าน้อยๆ ไม่เกิน 80 หน้า (ไม่สามารถทําให้สันมีความหนาได้) วิธีการก็คือ เอากระดาษทั้งเล่มมาเรียงกันแล้วพับครึ่ง จากนั้นใช้เครื่องลวดเย็บลวดตรงแนวพับ 2-3 ตัวเป็นการเข้าเล่มงานพิมพ์แบบแม็คเหมาะสําหรับงานพิมพ์ท่ีไม่หนาเกินไป แล้วแต่ความหนาของกระดาษและจํานวนหน้า
11. RING BINDING
เข้าเล่มกระดูกงู
นิยมใช้สําหรับงานพิมพ์ที่ไม่หนาเกินไปและทําจํานวนน้อย เช่น ปฏิทิน ไดอารี่สมุดบันทึกโดยสามารถเลือกสีของห่วงและขนาดของห่วงให้มีความเหมาะสม
12. THREAD SEWING
เข้าเล่มเย็บกี่
เป็นการเข้าเล่มหนังสือที่มีความแข็งแรงที่สุด (ตนทุนสูง) เหมาะสําหรับเข้าเล่มหนังสือที่มีความหนามากๆ เช่น พจนานุกรม ดิกชันนารี สารานุกรม เล่มใหญ่ๆ วิธีการยุ่งยากพอสมควร โดยเอากระดาษท้ังเล่มมาแยกออกเป็นส่วนย่อย แล้วเย็บแยกแต่ละส่วนเป็นเล่มเหมือนเย็บมุงหลังคา แตใช้ด้ายเย็บ จากนั้นเอาเล่มย่อยๆ มาร้อยรวมกันเป็นเล่มใหญ่อีกที แล้วจึงหุ้มด้วยปกอีกชั้นหนึ่ง
13. SCREW BINDING
เข้าเล่มเย็บน็อต
การเข้าเล่มวิธีนี้ ทำโดยการเจาะรูปกและใส้ในแผ่นกระดาษ แล้วจึงใช้น็อตยึดเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับงานที่มีน้ำหนักมาก เช่น แคตาล็อกตัวอย่างผ้า ตัวอย่างวัสดุสำหรับเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ทั้งนี้นิยมหุ้มปกด้วยวัสดุต่างๆเช่น หนัง และผ้า เป็นต้น เพื่อเพิ่มความหรูหราให้กับผลงานยิ่งขึ้น
Need Quotation
Line Siammaporn Qr Code
สนใจประเมินราคา หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า ได้ที่
Line @siammaporn